รูปที่ 1 หัวอ่าน Ultra Sonic

          โครงการตั้งสถานีวัดระดับน้ำด้วยหัวอ่าน Ultrasonic ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนริมน้ำเทศบาลอำเภอพระประแดง ดำเนินการโดยบริษัท เนฟคอม รีเสิร์ช จำกัด

โครงการนี้เกิดขึ้นจากการที่หัวอ่านในระบบPressureี่ต้องแช่อยู่ในน้ำทะเลซึ่งมีการกัดกร่อนของความเค็ม จากน้ำทะเล และจากการกัดของเพรียง สัตว์น้ำในทะเล จึงได้ทำการติดตั้งการวัดระดับน้ำด้วยหัวอ่าน Ultrasonic ซึ่งหลักการทำงานใช้เสียงความถี่สูงยิงออกไปและรอการสะท้อนกลับมาเมื่อเราทราบเวลาในการสะท้อนกลับ และทราบความเร็วของเสียงในบรรยากาศเราก็สามารถคำนวณหาระยะทางได้
 
คุณสมบัติของสถานี
   - อ่านค่าระดับน้ำและบันทึกใน Data Logger ตามช่วงเวลา (Time Interval)
   - สามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 15 วัน (สัมพันธ์กับค่า Interval)
   - ดาวน์โหลดข้อมูลด้วยการต่อสายสัญญาณ RS232 หรือผ่าน RF Module
   - ทำงานด้วยแหล่งจ่ายไฟระบบแสงอาทิตย์
   


          รูปที่ 2 เริ่มทำการสำรวจสถานที่ตั้งสถานี

เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นำโดยคุณ สุรสิทธิ์(ขวา) คุณ เสรี(ซ้าย) คุณปราโมทย์ (เสื้อดำ) คุณ ปิยะชาติ,คุณอเนก (ไม่อยู่ในรูป) ได้ทำการสำรวจ และมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้สถานที่ตรงนี้เป็นที่ตั้งของสถานีวัดระดับน้ำ ซึ่งแต่เดิมการท่าเรือเคยมีสถานีวัดระดับน้ำอยู่บริเวณนี้อยู่แล้ว แต่เมื่อทางเทศบาลได้ทำการปรับภูมิทัศน์ และสร้างเขื่อนริมน้ำใหม่ ทำให้สถานีถูกรื้อถอนไปด้วย เราจึงต้องหาที่ติดตั้งสถานีกันใหม่

 


 
         

   

 

 

    
        หลังจากได้สถานที่เรืยบร้อยทางบริษัทเนฟคอมฯ ไ้ด้ว่าจ้าง บ.โตการช่าง ซึ่งนำทีมโดยคุณ เรืองเดช (ขวา) ทำการติดตั้งโครงสร้าง ซึ่งความยากในการทำงานก็คือที่หน้างานเราไม่มีไฟฟ้าใช้ เราต้องทำงานกันตอนกลางคืนเพืือขอไฟฟ้าจากร้านค้าที่ ขายอาหารในบริเวณนั้นใช้ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เรารู้สึกขอบคุณในน้ำใจที่เอื้อเฟื้อไฟฟ้าให้เราได้ทำงานต่อ ไป


   รูปที่ 3 เริ่่มดำเนินงานติดตั้งอุปกรณ์ของสถานีวัดระดับน้ำ ณ เขื่อนริมแม่น้ำ อ.พระประแดง
 

 

รูปที่ 4 ติดตั้งกล่องสำหรับเก็บอุปกรณ์ควบคุมและ Data logger

              

 
                 
 

 

 

 รูปที่ 5 ติดตั้งหัว Ultrasonic ไว้ใต้เขื่อน

 

 
 


รูปที่ 6 การติดตั้งระบบเซลแสงอาทีตย์

หลังจากการเจรจาขอสนับสนุนไฟฟ้าจากเทศบาลอำเภอ
พระประแดงไม่สำเร็จ การท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงอนุมติให้เราติดตั้่งระบบ เซลแสงอาทิตย์เพื่อใช้กับสถานีวัดระดับน้ำต่อไป

              

      ใช้แผงโซล่าเซลแบบ Crystaline ขนาด 12V 20watts พร้อมชุดควบคุมการ charge ทีสามารถตัดการประจุเมือแบตเตอร์รี่เต็ม พร้อมแบตเตอร์รี ขนาด 22 แอมป์

 
   
 

 

รูปที่ 7 สถานีวัดระดับน้ำที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน

   จากรูปจะเห็นมีเสาอากาศของ RF Module เพื่อทำการ ิติดต่อแบบไร้สาย ขณะทำการดาวน์โหลดข้อมูลระดับน้ำ นั่นหมายความว่า ทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย สามารถ นำเรือเข้ามาใกล้บริเวณเขื่อน แล้วทำการดาวน์ โหลดข้อมูลใน data logger โดยไม่ต้องเช้าไปทำงาน ที่ กล่องควบคุม

              

        เราใช้ RF module คุณภาพดีและง่ายต่อการ interface เนื่องจากสามารถรองรับการ transfer file ทุกๆ protocol ไม่ว่าจะเป็น xmodem,ymodem,etc.

   
 

 

   รูปที่ 8 ทำการโยงหมุดระดับน้ำทะเลปานกลาง

ทางการท่าเรือได้ส่งทีมสำรวจมาที่หน้างานเพือทำการถ่่าย ระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งได้โยงหมุดจากทางแผนที่ทหาร มายังหน้าโรงเรียนอำนวยวิทย์ อ.พระประแดง
       ที่เห็นในรูปตรงทำแหน่งที่เจ้าหน้าที่วางเสาที่ใช้ในงาน สำรวจลงไปนั้นจะมีหมุดที่ปักไว้บนพื้นปูน


              

           
                   

 

 

 

รูปที่ 9 ทำการโยงหมุดจากหน้าโรงเรียนมายังจุดติดตั้งหัว Ultra sonic

ในรูปจะเห็นเครืีองหมายกากบาทสีแดง ตรงจุดนี้คือจุดที่ทำการหาค่าความสูงจากระดับนำ้ทะเลปานกลาง หลังจากนั้นจะได้หาค่าความสูงของหัว Ultra sonic ว่าสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่าไร และทำการโปรแกรมค่าลงไปใน data logger ต่อไปเพื่อให้ค่าที่ทำการบันทึกลงใน data logger เป็นค่าที่สัมพันธ์กับระดับนำ้ทะเลปานกลาง

 
 

รูปที่ 10 ตัวอย่างกร๊าฟระดับน้ำที่บันทึกได้
 

 

ทำการดาวน์โหลดข้อมูลระดับน้ำจาก data logger และัทำการพล๊อตกร๊าฟด้วยโปรแกรม TideMon