องค์กรของท่านมีการบริหารจัดการยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพหรือยังได้มีการจัดการกับปัญหาเหล่านี้หรือยัง
              - รถไปไหนมาบ้าง 

              - ระยะทางเท่าไรที่ใช้ไป
(สิ้นเปลือง)
              - ใช้ความเร็วเกินกำหนด (สิ้นเปลือง)
              - รถออกนอกเส้นทางที่กำหนดมากเกินควรหรือไม (ใช้ในเรื่องส่วนตัว)
              - เมื่อส่งสินค้าไม่ทันตามเวลานัดหมายคุณทราบถึงเหตุผลที่แท้จริงเพียงใด (รถติด,ติดพักเที่ยง)
              - องค์กรของคุณวางแผนการใช้ยานพาหนะอย่างมีประสิทธิภาพหรือยัง (วันหนึ่งๆท่านส่งของได้กี่ครั้ง)

        คำถามทั้งหลายข้างบนหรืออาจจะมีมากกว่านั้น มีคำตอบด้วยการใช้ระบบ NavTrack วิเคราะห์ดังต่อไปนี้
             
1. ดูภาพรวมการใช้เส้นทางจากแผนที่
              2. วิเคราะห์การใช้รถด้วยโปรแกรม NavCal V5.0
              3. ติดตามระบุตำแหน่ง


        รูปที่ 1 เมื่อนำข้อมูลจากกล่อง NavTrack ออกมาพล๊อตเส้นทางการเดินรถ (เส้นสีแดง)


1. ดูภาพรวมการใช้เส้นทางจากแผนที่ เราสามารถมองภาพรวมการใช้รถในแต่ละวันได้ว่าเป็นอย่างไร ถ้าวิเคราะห์ด้วยสายตา
ก็พอจะบอกได้ว่าการใช้รถในวันนี้เป็นระยะทางมากครอบคลุมพี้นที่ในกรุงเทพฯ ซึ่งถ้ามีเส้นทางไม่ปกติแตกต่างจากที่เคยเป็น
ก็ใช้โปรแกรม NavCal ในการวิเคราะห์ข้อมูล



                               รูปที่ 2 โปรแกรม NavCal วิเคราะห์การใช้รถอย่างย่อ

2.วิเคราะห์การใช้รถด้วยโปรแกรม NavCal V5.0
จะเห็นว่าในวันนี้ใช้รถเป็นระยะทางรวม ถึง 115 ก.ม. โดยพนักงาน ออกปฏิบัติงานตั้งแต่
12.46 น. จนถึง 18.47 น. นี้คือข้อมูลอย่างย่อที่มองภาพต่อจากเส้นทางการใช้รถจากแผนที่และถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มก็สามารถเรียกดูได้จาก
รายละเอียดของโปรแกรม


                     รูปที่ 3 โปรแกรม Navcal แสดงรายละเอียดทั้งหมดที่ควรทราบ

ตั้งเงื่อนไขของโปรแกรม คือ ความเร็วไม่เกิน 88 กม/ชม. และเวลาจอดรถตั้งแต่ 3 นาทีขึ้นไป
โปรแกรม NavCal จะวิเคราะห์ออกมาเป็นรายงาน
โดยได้รายงานดังในรูปที่ 3
สรุปรายงานได้ดังนี้
        - เริ่มออกเดินทางเมื่อไร ที่ไหน
        - จอดที่ไหน นานเท่าไร จอดกี่ครั้ง รวมเวลาการจอดทั้งสิ้น กี่ ชม.
        - ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดมากน้อยเพียงใด
        - สิ้นสุดการเดินทางเมื่อไร รถจอดที่ไหน
        - ระยะทางรวมเท่าไร
        - ใช้เวลารวมทั้งสิ้นเท่าไร
 



                                                         รูปที่ 4 กร๊าฟแสดงความเร็วของการใช้รถ

กร๊าฟความเร็วทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยสายตา  เส้นกร๊าฟสีแดง แสดงให้เห็นการใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด
เส้นกร๊าฟที่ตกลงมาที่ความเร็ว 0 กม./ชม. แสดงถึงรถจอดหรือรถติด


 

3.ติดตามระบุตำแหน่ง
    ในบางครั้งเราต้องติดตามระบุตำแหน่งรถเพื่อตอบสนองลูกค้าดังกรณีต่อไปนี้
     - ในการส่งมอบสินค้าตามเวลา เช่นการขนส่งรถยนต์,เครื่องเพชร,รถขนเงิน(ธนาคาร)
     - เปลี่ยนเส้นทางการส่งสินค้า กรณีสภาพการจารข้างหน้ามีปัญหา เช่นทางปิด-ขาด จากภัยธรรมชาติ,ปัญหาจารจร



      รูปที่ 5 โปรแกรม NavLink ขณะทำการติดตามรถ แสดงตำแหน่งบนแผนที่ แบบวินาทีต่อวินาท(เซทจอแสดงผล 1024x768 จะแสดงผลได้ถูต้อง)
   เมื่อคุณเห็นตำแหน่งของรถด้วยตาคุณเองและยังทราบความเร็วและทิศทางคุณสามารถประมาณการเรื่องระยะทางและเวลาที่สามารถ
บอกกับลูกค้าของคุณได้เหมือนกับคุณไปส่งสินค้าด้วยตัวเอง หรือถ้าต้องมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหรือสถานที่คุณสามารถวางแผน
และกำหนดเส้นทางได้  และอีกความสามารถหนึ่งที่มีประโยชน์ของ NavTrack V5.2 คือ
    -  มีข้อความแจ้งที่โทรศัพท์มือถือของท่านเมื่อรถไปถึงพิกัดที่ต้องการโดยอัตโนมัติ (ที่ประกอบการของลูกค้า)
    -  มีข้อความแจ้งเมื่อรถออกนอกพิกัดที่กำหนด (กิจการรถเช่าไม่ต้องการให้รถออกนอกพื้นที่)


 


รูปที่ 6 การใช้งาน Zone Alert กำหนดพื้นที่ห้ามออก(เซทจอแสดงผล 1024x768 จะแสดงผลได้ถูต้อง)

จากรูปที่ 6 พิกัดด้านซ้ายบน คือ 16 49’ 22.11” N 100 59’ 00.41” E
พิกัดด้านขวาล่างคือ 14 38’ 06.46” N 103 56’ 13.54” E
เมื่อรถคันที่ถูกโปรแกรม Zone alert ออกนอกกรอบสี่เหลี่ยมที่กำหนด NavTrack จะทำการส่ง สัญญาณเตือนตามชนิดที่กำหนด
เช่น ส่ง SMS ไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่กำหนด จากรูปที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
ชัยถูมิ นครราชสีมา สุรินทร์

ปัจจุบันเทคโนโลยีสูงขี้น เราสามารถนำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
มาใช้งานร่วมกับระบบติดตามได้ เช่นแผนที่ของ Google earth
ขยายภาพ
รูปที่ 7 แสดงการติดตามรถบนแผนที่ Google Earth

บทสรุป
       จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักของระบบ NavTrack คือการบันทึกเส้นทางการใช้รถ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อออกรายงาน
ส่วนการติดตามนั้นเป็นเพียงงานส่วนน้อยในการปฏิบัติงาน ข้อเท็จจริงก็คือว่าไม่มีใค
รเฝ้ามองรถแต่ละคันเคลื่อนที่ไปบนจอ
คอมพิวเตอร์
จะดูก็ต่อเมื่อต้องการทราบเท่านั้น